วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

ระวังอันตรายจากยาเเก้ฝ้า ผิวขาว ทราซมีน ใช้ผิด มีสิทธิอันตราย

www.chililemonspa.com
www.facebook.com/extacyshop.skincare
www.facebook.com/chili lemon
line 0851345844 chiliemonka

เพลียค่ะ เรามาช่วยกันรณรงค์ อย่าใช้ยาผิดประเภทแบบซื้้อมา เพื่อมาใช้เอง เพื่อหวังผลบางอย่าง เพราะมันจะก่อให้เกิดผลเสียมากมาย กิน ทาน เเละฉีดเอาเอง และสามารถก่ออันตรายถึงในชีวิต ยาที่ขายออนไลน์ทางอินเตอรเน็ต ควรจะศึกษาให้ดีก่อนซื้อยามาใช้ ไม่ใช่แค่เอาแต่ส่วนดีของยา บางอย่าง แต่ลืมว่ายาบางชนิดผลข้างเคียงเยอะกว่ามาก วันนี้เข้าไปดูเว็บออนไลน์ที่ขายยารักษาฝ้า งง มาก ทำไมสามารถโฆษณาว่าสามารถรักษาฝ้าโดยปราศจากคำแนะนำที่ถูกต้อง หรือการควบคุมของแพทย์  เขียนไม่ละเอียดอย่างมาก บอกแค่ว่าฝ้าจาง ผิวขาวใส ทันใจ ใน2 สัปดาห์ หรือ ลดฝ้า กระ หน้าขาวใส ลดผิวอักเสบ ขอยกตัวอย่างยาชนิดนึงที่เอามาเสริมในการรักษาฝ้า
*** เตือนเลยค่ะ ผู้ที่ใช้ยานี้ มีอาการคล้ายคนเป็นไข้ ปวดหัว เมื่อย หยุดใช้ ฝ้ากลับมาเหมือนเดิม
เเล้วก็มีกลุ่มคนคิดเอง ซื้อมาฉีดเอง อย.ไม่ได้รับรองนะค่ะ

Transamine® , เป็นชื่อทางการค้าของ Tranexamic acid  เป็นยาในรูปแบบการทาน การฉีด การทาบนผิวหนัง
Tranexamic acid  เป็นยาในกลุ่ม Fibrinolytic inhibitors เป็นอนุพันธ์การสังเคราะห์จากกรดอะมิโนไลซิน มีชื่อทางการค้าหลากหลาย Lysteda , Azeptill, Tranex , transino ,m-tranexamic acid พบว่าเริ่มเเรกถูกใช้ขึ้นในปี คศ.1986 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา  ในรูปแบบของการฉีดเข้าไป ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเลือดไหลไม่หยุด HEMOHILA รวมถึงเลือดที่ออกจากการผ่าทางทันตกรรม หรือ การผ่าหนักๆที่จะทำให้เสียเลือดอย่างหนัก และเงื่อนไขทางการแพทย์อื่นๆ และยังพบว่าสามารถใช้ในการลดเม็ดสี melanocytes เพื่อใช้ในการรักษาฝ้า อีกด้วย
ในการใช้ยาทรานซะมีนรักษาโรคอื่นๆนั้น แพทย์จะให้ใช้ยาในระยะสั้นๆเท่านั้น เพราะ ผลข้างเคียง และความเสี่ยงจากการใช้ยาชนิดนี้ มีค่อนข้างสูง
ในการรักษาฝ้า จากการศึกษาของ
Maeda และ Naganuma ในปี 1998 กล่าวถึง การใช้ tranexamic acid ในการป้องกันการเหนี่ยวนำให้เกิดกระบวนการสร้างเม็ดสี จากการได้รับรังสียูวีในสัตว์ทดลองนั้น พบว่า tranexamic acid ซึ่งมีฤทธิ์เป็น plasmin inhibitor จะไปยับยั้งการหลั่งของ arachidonic acid และการสร้าง prostaglandins จึงทำให้การทำงานของเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเม็ดสีลดลง เป็นผลให้การสร้างเม็ดสีลดลง จากการทดลองข้างต้นจะเห็นได้เป็นการทดลองในสัตว์ซึ่งมีปัจจัยหลายประการต่างจากคน และรูปแบบของ tranexamic acid ที่ใช้ ยังไม่ได้เป็นรูปแบบการให้ทางรับประทานอีก
รักษาฝ้านั้นเนื่องมาจากกลไกการออกฤทธิ์ของยาที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้สร้างเม็ดสีเมลานิน จึงทำให้ฝ้าจางลงได้ อย่างไรก็ตามข้อบ่งใช้ดังกล่าวยังไม่ได้รับการรับรอง รวมถึงยังไม่มีรายงานความปลอดภัยของยาเมื่อใช้เป็นระยะเวลานานด้วย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าประสิทธิภาพของ tranexamic acid ในการรักษาฝ้ายังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนจากการศึกษาในมนุษย์ ดังนั้นจึงแนะนำว่าผู้ที่จะใช้ยา tranexamic acid ควรหาทางเลือกอื่นในการใช้เพื่อรักษาฝ้า โดยอาจปรึกษาร่วมกับแพทย์ รวมทั้งวิธีการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมเพื่อลดการเกิดฝ้า เช่น การเลี่ยงจากแสงแดด และการทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ
  สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ ก่อนใช้ยา

  การแพ้ยาทรานิซามิค เอซิด (tranexamic acid) หรือแพ้ยาอื่นๆ ตรวจสอบสารประกอบก่อนใช้ ว่าสามารถทำให้แพ้ได้ไหม หรือถ้ามีผิวsensitive skin บางรายก็ไม่ควรใช้ยาชนิดนี้ ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ Phytonadione หรือวิตามินK1 และtranexamic ด้วย ( อันนี้ยาก จะทดสอบยังไง )
  ยาอื่นๆ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ใช้เอง วิตามิน อาหารเสริม และยาสมุนไพร ที่ท่านใช้อยู่ในขณะนี้หรือกำลังจะใช้
เช่นยา isotretinoin หรือ tretinion  (กลุ่มยารักษาสิว ) อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นลิ่มเลือดอุดตัน
หรือ ยาในกลุ่มยาฮอร์โมนต่างๆ เช่นยาคุมกำเนิด วงแหวนใส่ช่องคลอดคุมกำเนิด หรือผู้ที่ใช้ฮอร์โมนเพศหญิง อาจมีความสำพันธ์ในการเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตัน รวมถึงอาการของโรคหัวใจบางชนิด และบุคคลที่มีสภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ไม่ควรใช้ยาชนิดนี้
  เคยมีประวัติโรค Thromboembolic หรือ ภาวะมีลิ่มเลือด อันนี้อันตรายมากนะ
  มีหรือเคยมีภาวะประจำเดือนมาผิดปกติ
  มีหรือเคยมีโรคไตประเภทต่างๆ  เพราะยาชนิดนี้มุ่งตรงสู่ไตโดยตรง คำแนะนำคือไม่ควรใช้ยา หรือใช้ยาในปริมาณที่ต่ำมาก ถ้าเป็นไตบกพร่องก็อย่าใช้เลยนะ รวมถึงโรคตับด้วยจร้า
  การตั้งครรภ์ การวางแผนในการตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร
  หากต้องทำการผ่าตัดหรือทำการรักษาทางทันตกรรม แจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนว่าใช้ยานี้
ผู้ป่วยที่มีปัญหาเลือดออกบริเวณรอบสมอง การใช้ยาชนิดนี้อาจสามารถเกิดอาการบวมของเนื้อเยื่อในสมอง
บุคคลที่มีปัญหาการมองเห็น หรือตาบอดสี กรุณาอย่าไปยุ่งกับยาชนิดนี้ หรือในบางรายพบว่าบุคคลที่มีการใช้ยาชนิดนี้อยู่มีการมองเห็นที่ผิดปกติ ยาทรานซามีน มีความโยงใยในการเกิดโรคตาแดงได้
เน้นย้ำๆๆๆ  TRANEXAMIC ACID ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมอง เส้นโลหิตอุดตัน หญิงมีครรภ์ และต้องระวังในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไต
อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ที่ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที สรุปคือแจ้งหมดเลยดีกว่าเนอะ
มีดังนี้ มีอาการแพ้ ผื่นคัน บวมตามหน้า ปาก ลิ้น เจ็บหน้าอก ระบบของร่างกายทำงานไม่สัมพันธ์กัน ( loss of co-ordination) พูดไม่รู้เรื่อง พูดไม่ชัด (slurred speech) เจ็บที่บริเวณต้นขา หรือขา
อาการอันไม่พึงประสงค์อื่นที่อาจเกิดระหว่างใช้ยา หากเป็นต่อเนื่อง หรือ รบกวนชีวิตประจำวัน ให้ แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ มีดังนี้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มึนเวียนศรีษะ ปวดหัว ไซนัส คัดจมูก ปวดหลัง ปวดท้อง ปวดกล้างเนื้อ ปวดกราม ไมเกรน โลหิตจาง เมื่อยล้า ท้องเสีย อาเจียน ความผิดปกติในการมองเห็น และเกิดอาการแพ้ที่ผิดปกติต่างๆ
อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญจากการใช้ยาคือการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน โดยสามารถเกิดได้ทั้งหลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำ (arterial and venous thrombosis) แม้ว่าผู้ป่วยจะยังไม่มีโรคประจำตัว หรือสภาวะที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันแต่อย่างใด ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้อาจมีผลต่อการมองเห็น และการเกิดอาการข้างเคียงในระบบทางเดินอาหาร โดยอาการที่พบบ่อยคือคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย


ผศ.พญ.สุวิรากร โอภาสวงศ์ ประชาสัมพันธ์สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า

"แต่มีผลข้างเคียงที่ทำให้ขาว คือทำให้เม็ดสีลดความเข้มลงได้บ้าง แต่หากรับประทานต่อเนื่อง จะมีอาการข้างเคียง
เช่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียได้ (ประมาณ>10%) ที่สำคัญคือ อาจทำให้เกิดลิ่มเลือด
เพราะเป็นยาห้ามเลือดเพื่อให้เลือดแข็งตัว อาจส่งผลให้เส้นเลือดอุดตัน ยาไปสะสมในตับและไต

ไม่มีข้อบ่งใช้ในเรื่องผิวขาว หรือรักษาฝ้า โดยอนุญาตให้นำมาผสมในเครื่องสำอางไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าเป็นยาอันตราย
ใช้ในการช่วยให้เลือดแข็งตัวเป็นหลัก คุณหมอบอกว่า การใช้ยาทรานซามินต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์
ลองคิดดู ยาทำให้การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หากเลือดไปแข็งตัวตามส่วนต่างๆของร่างกาย โทษนั้นใหญ่หลวง

"สมมติว่าเราทานแล้วเลือดไปแข็งตัวที่ขา เส้นเลือดก็จะไปอุดตัน ทำให้ปวดขา หรือหากแข็งตัวที่สมอง หรือหัวใจ ยิ่งอันตรายเพิ่มขึ้นไปอีก

"ทรานซามินเป็นยาไม่ใช่อาหารเสริม ไม่ควรซื้อทานเอง มีผลต่อการเเข็งตัวของเลือด ดังนั้นไม่ใช่วิตามินทานเพื่อให้ผิวขาว มีอันตรายและโทษมากมาย

คุณหมอชี้แจงถึงเหตุที่ทำให้วัยรุ่นหันไปนิยมกินยาทรานซามิน เพราะหาซื้อง่ายกว่าและราคาถูกกว่ากลูต้าไธโอนนั่นเอง
ไม่ให้ครองใจคนอยากขาวได้อย่างไร ราคาถูกแสนถูกกว่ากลูต้าไธโอน แถมหาซื้อง่ายใต้ฟ้าเมืองไทย

"เมืองไทยกฎหมายค่อนข้างอ่อน ถ้าเป็นต่างประเทศต้องมีใบสั่งซื้อยา ขนาดพวกโรแอคคิวเทน (Ro-accutane) พวกกรดวิตามินเอ
ต้องเฉพาะหมอผิวหนังเท่านั้นที่สั่งได้ แต่ที่เมืองไทยหาซื้อได้เกลื่อนกลาดทั่วไป
      

  ผลข้างเคียงไม่ได้เกิดในทันที ลิ่มเลือดเป็นลักษณะของเเข็ง เวลามันกระจาย มันจะวิ่งไปอุดตันตามจุดต่างๆ ปอด สมอง เเล้วจะเเก้ไขยังไง งานนี้ได้ผ่าตัด เเน่ๆ มันคุ้มไหม จะหายรึปล่าวยังไม่รู้เลย บางคนลิ่มเลือดอุดตันส่วนใหญ่ตาย พ่อของฉัน เขาก็ตายโดยโรคหัวใจโต สาเหตุเกิดจากการผ่าตัดต้นขา จากอุบัติเหตุทางรถยนต์
เเล้วเกิดลิ่มเลือดไปอุดตันที่ปอด หัวใจทำงานหนัก เหนื่อยง่ายมาก เเค่เดินไม่เท่าไหร่ก็หอบเเล้ว ต้องมีอ็อกซิเจนติดตัว ไม่งั้นหายใจไม่ออกหน้าเขียว งานก็ทำไม่ได้ ทรมานเเค่ไหน ใครไม่เจอกับตัวไม่รู้หรอก ต้องมานั่นทนเห็นคนที่รอความตาย เเละต้องไปหาหมอทุกอาทิตย์ สุดท้ายหมอบอกเเค่ว่าระยะสุดท้ายเเล้ว หัวใจโตเท่าลูกบอล รักษาไม่ได้
นั่นคืออุบัติเหตุทางการเเพทย์ เเต่นี้คือสิ่งที่เรายัดเข้าปากเอง ทาบนผิวเราเอง มันคุ้มกันไหมที่จะซื้อยาอันตรายมาทานเอง เพื่อความสวยที่ไม่คงทนถาวร หยุดใช้ยา ฝ้าเเมร่งก็มาเหมือนเดิม


ข้อมูลอ้างอิง
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=38
http://www.yaandyou.net/index.php/component/drug/?nsetidT=3943&drugname=TRANSAMIN+CAPSULES+(250+MG)&drugtype=t
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรีชา มนทกานติกุล  ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โปรดแสดงความคิดเห็น ด้วยคำสุภาพค่ะ